วัดสวนดอก เชียงใหม่

วัดสวนดอก เชียงใหม่ สถานบรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย

วัดสวนดอก เชียงใหม่ พระอารามหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา

วัดสวนดอกหรือวัดบุปผาราม สร้างขึ้นในบริเวณสวนดอกไม้ของพระเจ้ากือนาธรรมิกราชแห่งราชวงศ์มังราย เมื่อ พ.ศ. 1914 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาแต่กรุงสุโขทัย ครั้นสิ้นราชวงศ์มังราย วัดชำรุดทรุดโทรมและร้างไปในที่สุด จนถึงสมัยพระเจ้ากาวิละได้กู้อิสระภาพสำเร็จ และได้บูรณะวัดให้อยู่ใสภาพที่ดีอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาปี พ.ศ. 2540 พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้านายในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ได้ย้ายเอาอนุสาวรีย์ (กู่) ของเจ้านายในราชตรกูล ณ เชียงใหม่ มาไว้ที่วัดสวนดอก และในปี 2475 ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทยได้บูรณะวัดและสร้างวิหารหลวงขึ้น

วิหารวัดสวนดอก เชียงใหม่

วัดสวนดอก เชียงใหม่
วัดสวนดอก เชียงใหม่

พระวิหาร วัดสวนดอก สร้างในปี พ.ศ. 2475 โดยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ ประชาชนได้นิมนต์ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย เป็นประธานขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 

ภายในพระวิหารได้ประดิษฐาน พระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง จึงได้มีชื่อว่าพระเจ้าเก้าตื้อ คำว่า “ตื้อ” ในภาษาเหนือแปลว่า “หนักพันชั่ง” พระพุทธรูปประธานองค์นี้เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน สร้างโดยช่างฝีมือล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก สูงถึง 4.7 เมตร จากเอกสารในวัดสวนดอกระบุชัดเจนว่าได้สร้างพระเจ้าเก้าตื้อเพื่อรวมคณะสงฆ์ที่แตกแยกกันสองนิกายคือนิกายสวนดอกกับนิกายป่าแดงให้สมานฉันท์กัน โดยตอนทำพิธีได้นิมนต์พระจากทั้ง 2 นิกายมาร่วมสวด นิกายละ 500 รูป รวม 1,000 รูป โดยพระเจ้าเก้าตื้อได้รับการเฉลิมนามว่า “พระเจ้าสิริทรงธรรมจักรพรรดิราช”

วัดสวนดอก เชียงใหม่
วัดสวนดอก เชียงใหม่
วัดสวนดอก เชียงใหม่

พระธาตุวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่

วัดสวนดอก เชียงใหม่

วัดสวนดอกหรือวัดบุปผาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพญากือนา ซึ่งได้อาราธนาพระสุมนเถระมาจากสุโขทัยมาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ที่เมืองเชียงใหม่ พระสุมนเถระจึงถวายพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัยให้กับพญากือนา ท่านได้ทรงทอดพระเนตรปรากฏว่า พระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหารย์ให้พญากือนาเห็นเป็นที่อัศจรรย์ ต่อมาพระบรมสารีริกธาตุได้แยกเป็น 2 องค์ พญากือนาพระราชทานพื้นที่บริเวณพระราชอุทยานหลวงสร้างวัดสวนดอกไม้หลวง หรือ วัดบุปผารามสวนดอก และสร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ 1 องค์เมื่อพุทธศักราช 1914 และ อีก 1 องค์ ได้เชิญไปประดิษฐานที่พระธาตุดอกสุเทพ พระธาตุเจดีย์วัดสวนดอกเป็นสถาปัตยกรรมตามคติพุทธศาสนาลังกาวงศ์องค์แรกของล้านนา

คำกราบบูชาพระบรมสารีริกธาตุ วัดสวนดอก

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด 3 จบ)

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่ง พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่งทุกชาติไป ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อม บูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสียสละบำเพ็ญบารมีนับชาติไม่ถ้วน เพื่อตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ เปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ บริสุทธิคุณ และปัญญาธิคุณ พร้อมกราบพระธรรม และพระอริยสงฆ์ ขออานิสงส์ผลบุญนี้พึงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพานในกาลอันควรด้วยเทอญ กรรมใดที่ล่วงเกินต่อ พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตาม ปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เทวดาพรหมที่เมตตาปกปักคุ้มครองรักษาข้าพเจ้าและครอบครัว เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงมีแต่ความสุขทั่วหน้ากันทุกท่านเทอญ

กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ วัดสวนดอก

ภายในวัดสวนดอกยังมีกลุ่มกู่บรรจุอัฐิเจ้านายฝ่ายเหนือ นับตั้งแต่พระเจ้ากาวิละ ต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นต้นมา รวมทั้งเจ้านายผู้ครองนครเชียงใหม่ กู่นี้พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงรวบรวมพระอัฐิจากที่ต่าง ๆ มาบรรจุรวมไว้ ณ ที่เดียวกันเพื่อให้สมพระเกียรติ ลักษณะกู่เป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมทรงปราสาทขนาดเล็กสร้างอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีการวางผังและจัดระเบียบอย่างสวยงาม ปัจจุบัน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร

วัดสวนดอก เชียงใหม่

บทความนี้เขียนโดย ธนินพงษ์ ศุภพิทักษ์พงษ์ ขณะเดินทางไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ในเช้าวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 ได้เดินทางไปวัดสวนดอกเป็นวัดแรกในการเดินทางเพื่อถ่ายทำโฆษณา โรงเรียนสอนการต่อสู้ IMAC Dojo และโรงพิมพ์ลักษมีรุ่ง โรงพิมพ์ออฟเซ็ท ดิจิตอลออฟเซ็ท อิงค์เจ็ทและสติ๊กเกอร์ติดรถ 3M

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *