วันเกิดพระภูมิเจ้าที่ วันมังกรเงยหน้า

วันเกิดพระภูมิเจ้าที่ วันมังกรเงยหน้า 二月初二

วันเกิดพระภูมิเจ้าที่ (ตี่จู๊เอี๊ย) และวันมังกรเงยหน้า

ตี่จู๊เอี๊ย

วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 2 ตามปฏิทินจันทรคติจีนเป็นวันมังกรเงยเหน้าและวันเทวะสมภพภูมิเทวดา “ฝูเต๋อะเจิ้งเสิน” หรือ “ถู่ตี้กง” เป็นวันสมภพแห่งดิน พระภูมิเจ้าที่คนจีนเชื้อสายไทยจะรู้จักในนาม ตี่จู๊เอี๊ย หรือ โถวตี้เอี๊ย ที่ประเทศจีนจะมีการก่อสร้างศาลเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน แทบทุกตรอกซอกซอยร้านค้าหรือหน้าประตูบ้านล้วนบูชาพระภูมิเทวดา โดยผู้ศรัทธาจะนิยมเรียกท่านว่า “ฝูเต๋อะเจิ้งเสิน” แปลว่า เทพผู้เที่ยงแท้แห่งคุณธรรมและความสุข เป็นเทพเจ้าที่คุ้มครองให้ความร่มเย็นเป็นสุขในท้องถิ่นหรือบ้านเรือน เพื่อให้เข้าออกบ้านเรือนได้รับความคุ้มครองปลอดภัย ในวันสมภพของเทพภูมิเทวดานี้ชาวจีนจะถวายบูชาเรียกว่า “หน่วนโซ่ว 暖壽” ถ้าจัดเป็นงานใหญ่เรียกว่า “ถู่ตี้ฮุ่ย 土地會” โดยทุกคนในบ้านจะจุดธูปไหว้สักการะพระภูมิเทวดาที่ศาลเจ้า มีการแสดงมหรสพ จุดประทัดถวายเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดพระภูมิเทวดา ในวันคล้ายวันเทวะสมภพนี้ถือเป็น วันกระตุ้นพลังงานธาตุดิน ธาตุมั่งคั่งในบ้าน หรือสถานที่ธุรกิจ ดังนั้นชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีนสมควรไหว้ตี่จู๊เอี๊ยะในบ้านโดยใช้หลักที่ว่า ควรไหว้ผุ้ใหญ่ในบ้านก่อนไปไหว้ผุ้ใหญ่นอกบ้าน คติความเชื่อว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันเทวสมภพก็เนื่องจากในผังก่อนฟ้า ปากว้า(八卦) ถือว่าเลข 2 เป็นเลข ปฐพีหรือพลังธาตุดิน วันขึ้น 2 ค่ำเดือน 2 จึงถือว่าเป็นเลขสูงสุดของพลังธาตุดินที่แรงที่สุดของปี จึงถือว่าวันนี้เป็นวันที่เหมาะกับการไหว้บูชาเจ้าที่ ปฐพีธาตุดินตามความเชื่อทางโหราศาสตร์จีน

ประวัติตี่จู๊เอี๊ย หรือ พระภูมิเจ้าที่จีน

พระภูมิเทวดาฝูเต๋อเจิ้งเสิน 福德正神. มีชีวิตอยู่ในสมัยต้นราชวงศ์โจว 周朝. เมื่อราว 3000 ปีก่อน มีนามว่า “จางฝูเต๋อ” สมัยท่านมีชีวิตท่านเกิดเป็นคนรับใช้ขุนนางครอบครัวหนึ่ง เจ้านายได้เดินทางไปธุระทางไกลและสั่งให้ “จางฝูเต๋อ” ช่วยพาบุตรสาวของตนเดินทางตามหลังมา แต่ระหว่างทางบังเกิดหิมะตกหนัก “จางฝูเต๋อ” จึงได้ถอดชุดของตนเพื่อให้บุตรสาวของเจ้านายสวมใส่เพื่อป้องกันอากาศที่หนาวเหน็บ ทำให้ท่านต้องเสียชีวิตระหว่างทาง เมื่อเจ้านายได้ทราบถึงความเสียสละจึงมีความเสียใจและรู้สึกกตัญญูต่อบ่าวผู้จงรักภักดี ซึ่ง “จางฝูเต๋อ” ได้เคยดูแลเจ้านายตั้งแต่ท่านยังเด็กจนมีบุตรสาว จนกระทั่งวันเสียชีวิต “จางฝูเต๋อ” คือผู้เฒ่าผมขาวชราก็ยังดูแลอย่างไม่เคยผิดพลาด ท่านจึงได้จัดงานศพที่ยิ่งใหญ่ให้กับ “จางฝูเต๋อ” ในคืนที่จัดงานศพเจ้านายได้ฝันเห็นมังกรได้คาบผ้าแพรสีแดงมามอบให้ ซึ่งในผ้าแพรแดงมีอักษร “จางฝูเต๋อ” เขียนอักษร 8 คำคือ  “南天門大仙福德神” หนานเทียนเหมิน ต้าเซียนฝูเต๋อเสิน หมายถึงสรวงสวรรค์ได้แต่งตั้งให้ “จางฝูเต๋อ” เป็น “” จางเต๋อซวิน เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งประตูสวรรค์ทักษิณาลัย (ประจำทิศใต้) ” ต่อมาในมัยพระเจ้าโจวอู่อ๋อง ได้แต่งตั้งให้ “จางฝูเต๋อ” เป็น ถู่ตี่กง 土地公. และต่อมาจึงเรียกกันว่า ตี่จู๋เอี้ย 地主爷 ซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำบ้านใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด โดยที่เรารู้จักในนาม “เจ้าที่” หรือเทพารักษ์องค์แรกที่ได้รับการแต่งตั้งจากองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ ในศาลขนาดใหญ่จะมีเทพองค์รักษ์ประจำพระองค์ 2 องค์ คือเทพบู๊และเทพบุ๋น (อู๋ฝูเต๋อ 武福德 และ เหวินฝูเต๋อ 文福德) สำหรับบ้านทั่วไปของชาวจีนนิยมตั้งศาล “ตี่จู๊เอี๊ยะ 地主爷” เพื่อเป็นเทพารักษ์คุ้มครองดูแลสมาชิกทุกคนในครอบครัวและบริษัทห้างร้านโดยทั่วไป

วันมังกรเงยหน้า

นอกจากนี้ในวันนี้ยังเป็นวันมังกรเงยหน้าหรือ “หลงไถโถว” เป็นเทศกาลดั้งเดิมของจีน บ้างก็เรียก “ชุนเกิงเจี๋ย 春耕節”แปลว่าวันคราดนาฤดูใบไม้ผลิ “หนงซื่อเจี๋ย 農事節”วันทำไร่ไถนา “ชุนหลงเจี๋ย 春龍節”วันมังกรฤดูใบไม้ผลิ หรือ”หลงโถวเจี๋ย 龍頭節”วันหัวมังกร ในวันนี้ ชาวจีนมักต้องบวงสรวงมังกร ขอฝน ขอให้เทพเจ้าคุ้มครองและขอให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์ ตามประเพณี มักจะจัดกิจกรรมเซ่นไหว้พญามังกร จุดประทัด เผากระดาษเงิน และตัดผม นอกจากนี้ ยังนิยมรับประทานเส้นหมี่ ถั่วเหลืองคั่ว ขนมเปี๊ยะย่าง และไข่ไก่ สมัยโบราณยังมีประเพณีเขียนหนังสือ ให้เด็กเปิดหูเปิดตา อวยพรให้เด็กโตขึ้นแล้วเป็นคนฉลาดเรียนหนังสือเก่ง แต่ละพื้นที่มีประเพณีที่ต่างกันสำหรับกรุงปักกิ่ง ชาวปักกิ่งจะต้องรับประทาน “ชุนปิ่ง” แปลว่าเปาะเปี๊ยะฤดูใบไม้ผลิเป็นเปาะเปี๊ยะบาง ห่อกับใส้อย่างน้อย 3 อย่าง คือถั่วงอก ไข่เจียวและขาหมู นอกจากนี้ ยังนิยมรับประทานเกี๊ยวน้ำ หมายถึงกัดหูมังกร ข้าวสวย หมายถึงกินลูกมังกร ในวันนี้ไม่ควรใช้เข็มเพื่อไม่ทำร้ายผิวหรือดวงตาของมังกร ที่ประเทศจีนจะจัดการแสดงพื้นบ้านต่าง ๆ ชาวประมงจะเชิดมังกรสีขาวยาวหลายสิบเมตร และคนทั้งหมดร้องพร้อมกันว่า “หลงไถโถว” เล่ากันว่า ขณะนี้ มังกรขาว ซึ่งเป็นลูกตัวเล็กสุดของพญามังกรจะเงยหน้าขึ้น และจะคุ้มครองปกป้องชาวบ้านที่นี่ตลอดทั้งปี อีกเรื่องหนึ่งที่ชาวจีนจะทำในวันนี้คือ โกนผมให้เด็ก หมายถึงโกนผมมังกร อวยพรให้เด็กเติบโตอย่างแคล้วคลาดจากมิพิษมิภัย ส่งฤดูหนาวต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ และนำโชคลาภมาสู่ทั้งเด็กและครอบครัว

เหตุผลที่วันขึ้น 2 ค่ำเดือน 2 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน เป็นวันมังกรชูหัว เนื่องจากประมาณวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 2 ขอจีนคือ วันที่กบ งู ไส้เดือนและสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในสภาวะจำศีลในช่วงฤดูหนาวได้เริ่มหยุดจำศีล ชาวบ้านจะเรียกงูว่ามังกรน้อย เมื่องูและไส้เดือนสิ้นสุดการจำศีลและเริ่มเคลื่อนไหว คนจีนเชื่อว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ ศุภมงคลและเจ้าและลมฝน ดังนั้นวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 2 เป็นวันที่มังกรขยับ เป็นวันที่มังกรต้องการขึ้นสวรรค์และเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ จึงเรียกวันนี้ว่าเป็นวันมังกรผงาดหัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการกลับมาของฤดูใบไม้ผลิต ซึ่งแท้จริงแล้ววันขึ้น 2 ค่ำเดือน 2 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน หรือวันมังกรเงยหน้า龍抬頭” มีที่มามาจาก ดาราศาสตร์ของคนจีนโบราณ 古代天文學 คนจีนสมัยโบราณ ใช้ กลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 28 ดวง二十八宿 มาคำนวณหาตำแหน่งของพระอาทิตย์พระจันทร์และดวงดาวบนท้องฟ้าและกำหนดฤดูกาลทั้ง 4 กลุ่มดาวฤกษ์ฝากทิศตะวันออกได้แก่ เจี่ยว角、ค่าง亢、ตี่氐、ฝาง房、ซิน心、เหว่ย尾、จี箕 เจ็บกลุ่มดาวรวมกันกลายเป็นลักษณะของมังกร 龍形星座、ดางเจี่ยว角宿 มีตำแหน่งคล้ายลักษณะของเขามังกร 龍的角。 ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 2 ตามปฏิทินจันทรคติจีน จนมาถึงช่วงฤดูใบไม้ผลิ 2 ของจีน ช่วงตอนพลบค่ำ ดาวเขามังกร 龍角星ก็จะปรากฏที่เส้นขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกจึงเรียกวันนี้ว่าวัน“มังกรเงยหน้า龍抬頭” เมื่อมังกรเงยหน้าปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า “龍抬頭” ฤดูใบไม้ผลิก็ค่อยๆมาถึงยังพื้นโลก ในช่วงฤดูกาลดังกล่าว พื้นแผ่นดินจะกลับมาเขียวขจีอีกครั้ง การเกษตรกรรมตั้งแต่ภาคใต้จนถึงภาคเหนือก็ค่อย ๆ เริ่มต้นขึ้น ด้วยเหตุนี้ขึ้น 2 ค่ำเดือน 2 ตามปฏิทินจีน จะมีอีกชื่อเรียกว่า “ เทศกาลเพาะปลูกฤดูใบไม้ผลิ 春耕節”、“ เทศกาลเกษตรกรรม 農事節”、“ เทศกาล มังกรฤดูใบไม้ผลิ春龍節”, ซึ่งถือเป็นเทศกาลของคนจีนมาแต่โบราณ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *