เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง (ตวนอู่เจี๋ย)
เทศกาลตวนอู่เจี๋ย หรือ เทศกาลวันไหว้บะจ่าง ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน เป็นวันที่เชื่อว่าเป็นวันที่พลังหยาง (阳) สูงที่สุดในรอบปี วันนี้เป็นวันที่ระลึกถึง “ซีหยวน” หรือ “คุกง้วน” กวีผู้รักชาติแห่งแคว้นฉู่ในช่วง 340 – 278 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทางรัฐบาลจีนได้กำหนดวันนี้ให้เป็นวันกวีจีนเพื่อเชิดชูเกียรติของกวีผู้รักชาติ ในอดีตกวีเอกและนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ “ซีหยวน” ถูกขุนนางใส่ร้ายว่าไม่ภักดีต่อประเทศ ท่านได้เลือกที่จะฆ่าตัวตายด้วยการโดดน้ำตายในแม่น้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างของท่านถูกปลาหรือกุ้งกิน ชาวบ้านในยุตนั้นได้โปรยก้อนข้าวให้ปลาและกุ้งกิน จึงเป็นที่มาของการทำ “บ๊ะจ่าง” นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าว่าผุ้คนได้พายเรือเพื่อไล่ปลาและกุ้งในแม่น้ำ จึงเป็นที่มาของประเพณีการแข่งขันเรือมังกร
ไหว้บ๊ะจ่าง ขนมบ๊ะจ่าง
ในอดีตประเทศจีน กวีเอกและนักการเมืองน้ำดี ท่าน“ซีหยวน” เสียชีวิตในแม่น้ำและประชาชนได้โปรยข้าวปลาอาหารโปรยลงแม่น้ำเพื่อเป็นยัยว่าเพื่อล่อให้สัตว์น้ำมากิน จะได้ไม่กินศพของซีหยวน หลังจากนั้นในทุกปีเมื่อครบรอบวันตายของกวีเอก “ซีหยวน” ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำ หลังจากโปรยอาหารในแม่น้ำ มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็น กวีเอก “ซีหยวน” มาเข้าฝันโดยสวมใส่อาภรณ์อันงดงาม กล่าวขอบคุณชาวบ้านที่นำเอาหารไปโปรยเพื่อเซ่นไหว้ ท่านกวีเอกได้แนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่หรือใบจากก่อนนำไปโยนน้ำ เพื่อเป็นการเซ่นไหว้ท่าน การห่อด้วยใบไผ่หรือใบจากจะได้ให้อาหารไม่ถูกสัตว์น้ำแย่งกินจะได้เซ่นไหว้ได้ถึงดวงวิญญาณของกวีเอก ปกติขนมบ๊ะจ่างจะถูกห่อด้วยข้าวเหนียวและไส้ต่าง ๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ ฯลฯ โดยใส่ไส้และวิธีการห่อแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดยลักษณะของขนมบ๊ะจ่างและรสชาติที่แตกต่างกันแสดงถึงความโชคดีและการกลับมาพบกันใหม่
การแข่งขันเรือมังกร
เทศกาลเรือมังกร ก็มาจากในอดีตนอกจากที่ชาวบ้านจะโยนข้าวอาหารในแม่น้ำ ยังมีการตกแต่งเรือเป็นรูปมังกร เพื่อใช้ในการโยนก้อนข้าวลงในน้ำ เพื่อให้เหล่าสัตว์น้ำทั้งหลายเข้าใจว่าข้าวที่โยนลงน้ำเป็นเครื่องเซ่นพญามังกรจะได้ไม่กล้าเข้ามากิน จึงเป็นที่มาของการแข่งเรือมังกรในเทศกาลไหว้ขนมบ๊ะจ่าง ปัจจุบัน การแข่งเรือมังกรเป็นกิจกรรมที่ผู้คนรวมตัวกันเพื่อพายเรือมังกร เพื่อระลึกถึงชาวบ้านในอดีตที่สร้างเรือหัวมังกร ทำการโปรยอาหารในแม่น้ำ การเฉลิมฉลองนี้ ผู้คนต่างจะแสดงความรักต่อครอบครัว มิตรภาพและความเสน่หา ตลอดจนอธิษฐานเพื่อความสามัคคีในชาติและความเจริญรุ่งเรืองของชาติ งานแข่งขันเรือมังกร จึงเป็นช่วงเวลาที่คนรวมตัวกันเพื่อรำลึกความทรงจำของกวีเอกผู้รักชาติ และยังเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนกลับมารวมกันและสวดภาวนาเพื่อขอพรด้วย
เทศกาลตวนอู่กับศาสนาเต๋า
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เป็นวันตี้ล่า “地腊” หรือวันบวงสรวงดิน ซึ่งวันนี้จะใช้ในการขอขมากรรมและขอพรให้ได้เลื่อนยศตำแหน่ง และเป็นวันที่บูชาบรรพชนและเทพเจ้าในวันนี้ ในความเชื่อทางศาสนาเชื่อว่าวันนี้เป็นวันที่พลังหยินและพลังหยางจะแข่งขันกัน ในเดือนห้าของจีน อากาศที่ประเทศจีนเริ่มร้อน สัตว์มีพิษต่าง ๆ จะเริ่มตื่น คนโบราณเชื่อว่าภูติแห่งโรคภัยและสัตว์มีพิษทั้งห้าและจะมีความอัปมงคลต่าง ๆ ชาวบ้านผู้นับถือศาสนาเต๋าจึงนิยมผูกแขนด้วยผ้าไหม 5 สี (เขียว เหลือง ขาว แดง ดำ แทนธาตุ ไม้ ดิน ทอง ไฟ และ น้ำ) เพื่อปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย นักพรตเต๋า จะทำยันต์จีน (ฮู้) ปรมาจารย์จางเทียนซือ หรือ เทพเจ้าจงขุย และ ยันต์ “ห้าพิษ” เพื่อติดกลางบานประตูบ้านใช้ขับไล่พลังเสนียด ยันต์เหล่านี้จะติดถึงวันที่ 1 เดือน 6 ของจีนจึงปลอดออก
ภูมิปัญญาชาวบ้านในเทศกาลตวนอู่
ชาวจีนจะนิยมแขวนต้นหญ้า “โกฐจุฬาลัมพา” และต้นว่านน้ำ ไว้หน้าประตูบ้าน เพื่อขับไล่พิษในเทศกาลตวนอู่ ในเทศกาลนี้ชาวจีนจะออกไปนอกบ้านโดยไม่ใส่รองเท้าและเหยียบใบหญ้าเขียวสดเพื่อป้องกันโรค การติดต้น “โกฐจุฬาลัมพา” แขนหน้าประตู ความหอมของต้นนี้ปัอเป่าพลังไม่ได้ขับไล่พิษร้าย และเมื่อนำต้นนี้มาต้มกับน้ำเดือดสามารถรักษาโรคผิวหนัง ถ้านำมาเผายังสามารถขับไล่แมลง ไล่ยุง ริ้น ไร ได้ สำหรับต้นว่านน้ำก็ยังเป็นสุดยอดแห่งยาที่รักษาโรคได้มากมาย นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในการดื่มเหล้า “สงหวง” ซึ่งเป็นเหล้าที่มีฤทธิ์แรง สามารถฆ่าแมลงและหนอนพิษได้ ความเชื่อสุดท้ายคือชาวบ้านจะนิยมให้เด็กใส่ถุงหอมในวันนี้เพราะเชื่อว่าจะสามารถขับไล่พลังไม่ดีและสิ่งชั่วร้ายได้
บทความนี้เขียน Blog โดย ธนินพงษ์ ศุภพิทักษ์พงษ์ เจ้าของโรงพิมพ์ลักษมีรุ่งและโรงเรียนสอนการต่อสู้ IMAC Dojo