Thaninpong

ทะนานประทีป - เต้าเต็ง

ทะนานประทีป (เต้าเต็ง – เต้าเติง)

ทะนานประทีป (เต๋าเต็ง) เป็นเครื่องสักการะในวัฒนธรรมจีนที่ใช้ในพิธีบูชาดาวกระบวยเหนือ สื่อถึงความเป็นสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรือง และการขจัดภัยพิบัติ โดยบรรจุข้าวสารและตั้งตะเกียงตรงกลาง พร้อมสิ่งของมงคลต่าง ๆ เพื่อขอพรให้มีชีวิตยืนยาวและสุขภาพแข็งแรง

xian

เที่ยวซีอาน 4 วัน 3 คืนแบบ DIY: เที่ยวอิสระ ไม่ง้อทัวร์

เที่ยวซีอาน 4 วัน 3 คืนแบบ DIY คือทางเลือกที่สมบูรณ์แบบที่จะได้สัมผัสเมืองประวัติศาสตร์อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเดินชมกำแพงเมืองโบราณ หรือตื่นตากับนักรบดินเผาจักรพรรดิจิ๋นซี ทริปนี้จะพาคุณไปเที่ยวทุกจุดไฮไลต์ โดยไม่ต้องพึ่งทัวร์ แค่เตรียมใจและแผนการเดินทางก็พอ รับรองว่าสนุก คุ้มค่า และเต็มไปด้วยประสบการณ์ที่ไม่ซ้ำใคร!

เทศกาลตวนอู่

เทศกาลตวนอู่เจี๋ย (端午节) หรือเทศกาลไหว้บะจ่าง

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง (ตวนอู่เจี๋ย) เทศกาลตวนอู่เจี๋ย หรือ เทศกาลวันไหว้บะจ่าง ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน เป็นวันที่เชื่อว่าเป็นวันที่พลังหยาง (阳) สูงที่สุดในรอบปี วันนี้เป็นวันที่ระลึกถึง “ซีหยวน” หรือ “คุกง้วน” กวีผู้รักชาติแห่งแคว้นฉู่ในช่วง  340 – 278 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทางรัฐบาลจีนได้กำหนดวันนี้ให้เป็นวันกวีจีนเพื่อเชิดชูเกียรติของกวีผู้รักชาติ  ในอดีตกวีเอกและนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ “ซีหยวน” ถูกขุนนางใส่ร้ายว่าไม่ภักดีต่อประเทศ ท่านได้เลือกที่จะฆ่าตัวตายด้วยการโดดน้ำตายในแม่น้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างของท่านถูกปลาหรือกุ้งกิน ชาวบ้านในยุตนั้นได้โปรยก้อนข้าวให้ปลาและกุ้งกิน จึงเป็นที่มาของการทำ “บ๊ะจ่าง”  นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าว่าผุ้คนได้พายเรือเพื่อไล่ปลาและกุ้งในแม่น้ำ จึงเป็นที่มาของประเพณีการแข่งขันเรือมังกร ไหว้บ๊ะจ่าง ขนมบ๊ะจ่าง ในอดีตประเทศจีน กวีเอกและนักการเมืองน้ำดี ท่าน“ซีหยวน” เสียชีวิตในแม่น้ำและประชาชนได้โปรยข้าวปลาอาหารโปรยลงแม่น้ำเพื่อเป็นยัยว่าเพื่อล่อให้สัตว์น้ำมากิน จะได้ไม่กินศพของซีหยวน หลังจากนั้นในทุกปีเมื่อครบรอบวันตายของกวีเอก “ซีหยวน” ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำ หลังจากโปรยอาหารในแม่น้ำ มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็น กวีเอก “ซีหยวน” มาเข้าฝันโดยสวมใส่อาภรณ์อันงดงาม กล่าวขอบคุณชาวบ้านที่นำเอาหารไปโปรยเพื่อเซ่นไหว้ ท่านกวีเอกได้แนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่หรือใบจากก่อนนำไปโยนน้ำ เพื่อเป็นการเซ่นไหว้ท่าน การห่อด้วยใบไผ่หรือใบจากจะได้ให้อาหารไม่ถูกสัตว์น้ำแย่งกินจะได้เซ่นไหว้ได้ถึงดวงวิญญาณของกวีเอก ปกติขนมบ๊ะจ่างจะถูกห่อด้วยข้าวเหนียวและไส้ต่าง ๆ เช่น …

เทศกาลตวนอู่เจี๋ย (端午节) หรือเทศกาลไหว้บะจ่าง Read More »

วันเกิดพระภูมิเจ้าที่ วันมังกรเงยหน้า

วันเกิดพระภูมิเจ้าที่ วันมังกรเงยหน้า 二月初二

วันเกิดพระภูมิเจ้าที่ (ตี่จู๊เอี๊ย) และวันมังกรเงยหน้า วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 2 ตามปฏิทินจันทรคติจีนเป็นวันมังกรเงยเหน้าและวันเทวะสมภพภูมิเทวดา “ฝูเต๋อะเจิ้งเสิน” หรือ “ถู่ตี้กง” เป็นวันสมภพแห่งดิน พระภูมิเจ้าที่คนจีนเชื้อสายไทยจะรู้จักในนาม ตี่จู๊เอี๊ย หรือ โถวตี้เอี๊ย ที่ประเทศจีนจะมีการก่อสร้างศาลเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน แทบทุกตรอกซอกซอยร้านค้าหรือหน้าประตูบ้านล้วนบูชาพระภูมิเทวดา โดยผู้ศรัทธาจะนิยมเรียกท่านว่า “ฝูเต๋อะเจิ้งเสิน” แปลว่า เทพผู้เที่ยงแท้แห่งคุณธรรมและความสุข เป็นเทพเจ้าที่คุ้มครองให้ความร่มเย็นเป็นสุขในท้องถิ่นหรือบ้านเรือน เพื่อให้เข้าออกบ้านเรือนได้รับความคุ้มครองปลอดภัย ในวันสมภพของเทพภูมิเทวดานี้ชาวจีนจะถวายบูชาเรียกว่า “หน่วนโซ่ว 暖壽” ถ้าจัดเป็นงานใหญ่เรียกว่า “ถู่ตี้ฮุ่ย 土地會” โดยทุกคนในบ้านจะจุดธูปไหว้สักการะพระภูมิเทวดาที่ศาลเจ้า มีการแสดงมหรสพ จุดประทัดถวายเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดพระภูมิเทวดา ในวันคล้ายวันเทวะสมภพนี้ถือเป็น วันกระตุ้นพลังงานธาตุดิน ธาตุมั่งคั่งในบ้าน หรือสถานที่ธุรกิจ ดังนั้นชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีนสมควรไหว้ตี่จู๊เอี๊ยะในบ้านโดยใช้หลักที่ว่า ควรไหว้ผุ้ใหญ่ในบ้านก่อนไปไหว้ผุ้ใหญ่นอกบ้าน คติความเชื่อว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันเทวสมภพก็เนื่องจากในผังก่อนฟ้า ปากว้า(八卦) ถือว่าเลข 2 เป็นเลข ปฐพีหรือพลังธาตุดิน วันขึ้น 2 ค่ำเดือน 2 จึงถือว่าเป็นเลขสูงสุดของพลังธาตุดินที่แรงที่สุดของปี จึงถือว่าวันนี้เป็นวันที่เหมาะกับการไหว้บูชาเจ้าที่ ปฐพีธาตุดินตามความเชื่อทางโหราศาสตร์จีน ประวัติตี่จู๊เอี๊ย หรือ …

วันเกิดพระภูมิเจ้าที่ วันมังกรเงยหน้า 二月初二 Read More »

เจ้าแม่เซียนจิ้งจอก 狐仙

เจ้าแม่เซียนจิ้งจอก (หูเซียน – 狐仙)

เจ้าแม่เซียนจิ้งจอก : หูเซียน 狐仙 จากเขาหลงหู่ซาน ต้นกำเนิดศาสนาเต๋า เจ้าแม่เซียนจิ้งจอก หรือ หูเซียน 狐仙 คือเทพนารีที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเซียนโดยปรมาจารย์จางเทียนซือรุ่นที่ 30 และเป็นธรรมบาลขององค์เทียนซือ ศาลเจ้าเซียนจิ้งจอก 狐仙堂 ประดิษฐานภายในอารามเทียนซือเขาหลงหู่ซาน ท่านได้รับการบูชามาอย่างยาวนาน หูเซียนเป็นจิ้งจอกที่ผ่านการฝึกฝนบำเพ็ญเพียรจนกลายเป็นเซียน ซึ่งคำว่า “เซียน” ในวัฒนธรรมจีนหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่มีพลังอำนาจและอายุยืนยาวจนเหนือธรรมชาติ จิ้งจอกในตำนานจีนเป็นสัญลักษณ์ของความเฉลียวฉลาด ความมีเสน่ห์ และพลังลึกลับ ท่านยังเป็นเทพีผู้พิทักษ์ทรัพย์สินเงินทอง ขอลาภลอย กวักทรัพย์เรียกเงิน เลื่อนยศและตำแหน่งหน้าที่การงาน ปัจจุบันมีศาลเจ้าแม่เซียนจิ้งจอก ที่อารามไท่เสวียนก้วน มูลนิธิเต๋าธรรมะสยาม ใกล้วัดไร่ขิง จ.นครปฐม บทความ เจ้าแม่เซียนจิ้งจอก จาก มูลนิธิเต๋าธรรมะสยาม องค์กลางคือปรมาจารย์จางเทียนซือองค์ที่ 1 องค์ด้านขวามือคือปรมาจารย์จางเทียนซือองค์ที่ 30 ผู้ช่วยเหลือภูติจิ้งจอกจากการลงโทษจากสวรรค์ องค์ด้านซ้ายมือคือปรมาจารย์จางเทียนซือองค์ที่ 44 ผู้สั่งให้สร้างรูปเคารพและศาลเซียนจิ้งจอกภายในอารามเต๋าที่ภูเขาหลงหู่ซาน เซียนจิ้งจอก 靈狐大仙 “หลิงหูต้าเซียน” เป็นเทพเจ้าที่มีชื่อเสียงในการขอพรเรื่องดวงความรัก ชีวิตคู่และเรื่องขอลาภลอยเสี่ยงโชค โดยท่านอาจารย์อวี๋โหลซานได้อัญเชิญผงธูปมาจากศาลเจ้าต้นกำเนิดเขาหลงหู่ซาน สำนักเทียนซือฝู่เมื่อปี 2020 นำมาประดิษฐานไว้ ณ อารามไท่เสวียนก้วนชั้นหนึ่ง ตำหนักด้านข้าง  เจ้าแม่เซียนจิ้งจอก …

เจ้าแม่เซียนจิ้งจอก (หูเซียน – 狐仙) Read More »

อารามไท่เสวียนก้วน

อารามไท่เสวียนก้วน มูลนิธิเต๋าธรรมะสยาม

อารามไท่เสวียนก้วน มูลนิธิเต๋าธรรมะสยาม อารามเต๋าแห่งแรกของประเทศไทย อารามไท่เสวียนก้วน คือ ศาสนสถานของศาสนาเต๋าแห่งแรกในประเทศไทย โดย “ไท่เสวียน” เป็นชื่อตำแหน่งของปรมาจารย์จางเทียนซือซึ่งเป็นประธานในอาราม ภายในอารามประดิษฐานรูปเคารพเทพเจ้าสายจีนโดยมีกิจกรรมในการเผยแพร่ความรู้ทางศาสนาเต๋าและประกอบพิธีกรรมโดยนักพรตนิกายเจิ้งอีที่ผ่านพิธีโซ่วลู่รับรองจากวัดหลงหู่ซานประเทศจีน อารามเต๋าไท่เสวียนก้วน มูลนิธิเต๋าธรรมะสยาม ได้เปิดอารามอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 22:00 – 24:00 น. (ฤกษ์จื่อ) โดยตั้งอยู่ ณ.อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อารามตั้งอยู่ในชัยภูมิน้ำแปดทิศ กลางเกาะลัดอีแท่น ใกล้วัดไร่ขิง เปิดให้สาธุชนเข้าสักการะได้ทุกวันในเวลา 8:30 – 18:00 น. ผู้ที่เข้าสักการะจะได้รับการแนะนำ ดูแล และสอนการขอพรปรมาจารย์ศาสนาเต๋าและเทพเจ้าทุกพระองค์โดยนักพรตนิกายเจิ้งอีที่อาราม นอกจากนี้ท่านที่ประสงค์ทำพิธีทางศาสนาไม่ว่าจะเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีจุดตะเกียงขอพรเทพเจ้า พิธีเปิดขุมทรัพย์ ในแบบฉบับศาสนาเต๋าที่มีพิธีกรรมที่ซับซ้อนและสมบูรณ์แบบ สามารถสอบถามนักพรตในอารามเพื่อประกอบพิธีกรรมให้ได้ อารามไท่เสวียนก้วนได้เกิดขึ้นจาก นักพรต“อวี๋โหลซาน” หรือ “อาจารย์ใหญ่แห่งอารามไท่เสวียนก้วน” ที่ท่านได้เดินทางทั่วประเทศจีน ฮ่องกง และ ไต้หวัน นำความรู้และทรัพยากรทางศาสนาเต๋ามายังประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ความรู้โดยความร่วมมือกับนักพรตเต๋าในประเทศไทยและลูกศิษย์ในศาสนาเต๋า จึงทำให้อารามไท่เสวียนก้วนเป็นอารามเต๋าที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงและเป็นอารามเต๋าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อารามไท่เสวียนก้วนยังมีกิจกรรมการสอนและเผยแพร่ความรู้ศาสนาเต๋า อภิปรัชญาจีน และวิชาพยากรณ์จีน เช่น วิชาอี้จิง …

อารามไท่เสวียนก้วน มูลนิธิเต๋าธรรมะสยาม Read More »

10 Taoist Precepts

ศีล 10 ข้อของผู้บำเพ็ญเต๋า

ศีล 10 ข้อของผู้บำเพ็ญเต๋า ผู้นับถือศาสนาเต๋า (10 Taoist Precepts) ศาสนาเต๋า เป็น 1 ใน 5 ศาสนาที่ได้รับการยอมรับจากประเทศจีนและไต้หวัน ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยสอนให้ดำเนินชีวิตของตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ปัจจุบันศาสนาเต๋าได้แบ่งเป็น 2 นิกายหลัก คือนิกายเจิ้งอี และ นิกายฉวนเจิน โดยใช้หนังสือ “เต๋าเต๋อจิง” ของเล่าจื้อและคัมภีร์จวงจื้อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ผู้ที่ปฏิบัติตามหลักของศาสนาเต๋าคือนักพรตเต๋า ซึ่งมีข้อประพฤติปฏิบัติ ซึ่งอาจมีความแตกต่างบ้างในแต่ละสำนัก แต่ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ ศีล 10 ข้อของผู้บำเพ็ญเต๋า เพื่อช่วยตักเตือนให้ละเว้นจากความชั่ว 10 ประการ ศีลข้อ 1 : รู้กตัญญู มีเมตตา เคารพผู้อาวุโส อาจารย์ รักสามัคคีดูแลคนในตระกูล ศีลข้อ2 : ไม่ลักทรัพย์ ไม่สมรู้ร่วมคิดกับโจร ไม่ทำลายของที่เป็นประโยชน์แก่ตนหรือมหาชนศีลข้อ3: ไม่เป็นคนชั่วร้าย ไม่ฆ่าสัตว์ หรือทรมานสัตว์หรือสิ่งอื่นเพื่อเพิ่มอรรถรส พึงปฏิบัติเจริญเมตตา คิดถึงผู้อื่นศีลข้อ 4 …

ศีล 10 ข้อของผู้บำเพ็ญเต๋า Read More »

วัดสวนดอก เชียงใหม่

วัดสวนดอก เชียงใหม่ สถานบรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย

วัดสวนดอก เชียงใหม่ พระอารามหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา วัดสวนดอกหรือวัดบุปผาราม สร้างขึ้นในบริเวณสวนดอกไม้ของพระเจ้ากือนาธรรมิกราชแห่งราชวงศ์มังราย เมื่อ พ.ศ. 1914 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาแต่กรุงสุโขทัย ครั้นสิ้นราชวงศ์มังราย วัดชำรุดทรุดโทรมและร้างไปในที่สุด จนถึงสมัยพระเจ้ากาวิละได้กู้อิสระภาพสำเร็จ และได้บูรณะวัดให้อยู่ใสภาพที่ดีอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาปี พ.ศ. 2540 พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้านายในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ได้ย้ายเอาอนุสาวรีย์ (กู่) ของเจ้านายในราชตรกูล ณ เชียงใหม่ มาไว้ที่วัดสวนดอก และในปี 2475 ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไทยได้บูรณะวัดและสร้างวิหารหลวงขึ้น วิหารวัดสวนดอก เชียงใหม่ พระวิหาร วัดสวนดอก สร้างในปี พ.ศ. 2475 โดยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ ประชาชนได้นิมนต์ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย เป็นประธานขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478  ภายในพระวิหารได้ประดิษฐาน พระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง …

วัดสวนดอก เชียงใหม่ สถานบรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย Read More »

ไท้เพ้งอ๊วงกง

ศาลเจ้าไท้เพ้งอ๊วงกง 800 เมตรจากค่ายบางกุ้ง

ศาลเจ้าไท้เพ้งอ๊วงกง ศาลศักดิ์สิทธิ์เชิดพระเกียรติพระเจ้าตากสิน ดั่งเทพเจ้าแห่งความสันติสุข ศาลเจ้าไท้เพ้งอ๊วงกง คือ ศาลเทพเจ้าแห่งสันติ ศาลนี้สร้างขึ้นโดยประชาชนในเมืองสมุทรสงครามร่วมกันบริจาคสร้างขึ้นใกล้ค่ายบางกุ้ง ที่ตั้งเดิมเป็นวัดอมรเทพบริเวณปากคลองแควอ้อม เพื่อเชิดชูบุญบารมีของพระเจ้าตากสินที่ทำให้บ้านเมืองมีความสงบร่มเย็นเป็นสุข ศาลเจ้าไท้เพ้งอ๊วงกงนี้อยู่ห่างจากค่ายบางกุ้งเพียง 800 เมตร โดยเราสามารถเดินเท้าไม่ถึง 10 นาทีเท่านั้น ประวัติที่แปลจากสารขออนุญาติตั้งศาลเจ้าไท้เพ้งอ๊วงกง ได้กล่าวถึงประวัติกล่าวว่า ในคราวสงครามที่พม่าได้ส่งกำลังพลมาห้อมล้อมค่ายบางกุ้งนานถึง 14 วันทำให้คนในค่ายได้รับความยากลำบากมาก ขาดแคลนเสบียงอาหารจนกระทั่งชาวบ้านในครานั้นโดยเฉพาะคนชราต้องยอมอดอาหารเพื่อให้มีอาหารหล่อเลี้ยงทหารไทย-จีนมีอาหารประทังชีวิตท่ามกลางวงล้อม ในขณะนั้นออกหลวงเสนาสมุทร หรือ ไต้ก๋งเจียม ผู้ดูแลเมืองแม่กลองในสมัยนั้นได้แจ้งไปยังกรุงธนบุรี ขอกำลังรบกับพม่า พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเรือพักอยู่ฝั่งตรงข้ามกับค่าย อาศัยเวลายามสามเดือนตก จึงได้ยกทัพข้ามฝั่งมาบริเวรท้ายค่ายซึ่งเป็นตำแหน่งของศาลเจ้าไท้เพ้งอ้วงกงในปัจจุบัน ทหารไทยและชาวจีนได้ทราบความก็มีกำลังใจฮึกเหิม ได้ร่วมกับพระเจ้าตากสินนำกำลังตีพม่าจนแตกพ่าย ก่อนที่พระเจ้าตากสินมหาราชจะเสด็จกลับหลังได้รับชัยชนะ ท่านได้บัญชาให้มีทหารไทยส่วนหนึ่งรักษาเมืองแม่กลองโดยให้ร่วมกันกับทหารสายเลือดจีนป้องกันเมือง ให้คนไทยและคนจีนได้อยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จึงเป็นเหตุให้พสกนิการชาวจีนต่างเลื่อมใสพระเจ้าตากสินมหาราชเปรียบประดุจดังเทพเจ้า ที่เมื่อพระองค์ปรากฏหรือไปถึงที่แห่งใด ที่แห่งนั้นก็จะพบความสุขความเจริญ สงบสันติ ศาลเจ้าจึงได้สร้างขึ้นตรงบริเวณที่ท่านเสด็จออกเรือ ท้ายค่ายบางกุ้ง เพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่านในนามแห่งเทพเจ้าแห่งความสันติสุข ค่ายบางกุ้ง การสู้รบที่มาของศาลเจ้าไท้เพ้งอ๊วงกง ค่ายบางกุ้งได้สร้างขึ้นในช่วงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ค่ายบางกุ้งเป็นค่ายที่ทหารเรือไทยดูแลในบริเวณวัดอมรเทพ วัดบางกุ้งน้อย วัดบางกุ้งใหญ่ จนถึงวัดกลาง (วัดร้าง) ซึ่งเป็นกองทัพเรือซึ่งตั้งกองกำลังรักษาพื้นที่ในช่วงกรุงแตกประมาณ พ.ศ. 2310  เมื่อพระเจ้าตากสินได้ตั้งกรุงธนบุรีแล้ว จึงโปรดให้คนจีนในลุ่มแม่น้ำแม่กลองตั้งกำลังกองทหารรักษาค่ายบางกุ้ง ซึ่งรู้จักในชื่อ ค่ายจีนบางกุ้ง …

ศาลเจ้าไท้เพ้งอ๊วงกง 800 เมตรจากค่ายบางกุ้ง Read More »

ยักษ์แม่ใหญ่

ยักษ์แม่ใหญ่ Giantess วัดนางตะเคียน จ.สมุทรสงคราม

ยักษ์แม่ใหญ่ วัดนางตะเคียน ยักษิณีแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ยักษ์แม่ใหญ่ คือ ยักษิณีนามว่า พระนางสุพรรณอัปสร ประดิษฐานอยู่ที่วัดนางตะเคียน ตำบลคลองเขิน อำเภอเมือง จ.สมุทรสงคราม ท่านเคยประดิษฐานอยู่บริเวณตลิ่งหน้าวัดนางตะเคียน แต่เกิดเหตุตลิ่งถูกน้ำเซาะจนพังทำให้ยักษ์แม่ใหญ่ตกจมลงในน้ำเป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่งได้มีการงมขึ้นมาและบูรณะปั้นเศียรของยักษ์แม่ใหญ่ใหม่ ซึ่งผู้คนมีศรัทธาเชื่อในยักษ์แม่ใหญ่ในการขอพรเรื่องการเดินทางให้ปลอดภัย ค้าขายร่ำรวย และขอพรเรื่องโชคลาภ ประวัติโดยย่อของยักษ์แม่ใหญ่ พระนางสุพรรณอัปสร วัดนางตะเคียน ในอดีตวัดนางตะเคียนเป็นวัดที่มีสภาพรกร้างน่ากลัวมาก ชาวบ้านเล่าลืมว่าผีดุมากและหลอกหลอนคนเป็นประจำ หลังพระอาทิตย์ตกดินชาวบ้านละแวกนั้นจะไม่กล้าเดินผ่านวัด โดยเฉพาะที่วัดมีต้นตะเคียนใหญ่ 2 ต้นลือว่ามีเจ้าแม่นางตะเคียนสิงสถิตย์อยู่แต่ปัจจุบันต้นตะเคียนได้ล้มตายไปแล้ว ซึ่งวิญญาณเจ้าแม่นางตะเคียนก็เป็นที่มาของชื่อวัดนางตะเคียนนั่นเอง นอกจากนี้ชาวบ้านในอดีตก็เคยเห็นยักษ์เดินไปเดินมาอยู่บริเวณวัด และยังมียักษ์ลงเล่นน้ำที่บริเวณคลองหน้าวัด ชาวบ้านสมัยนั้นจึงได้มีการปั้นรูปปั้นยักษ์ รูปปั้นพระฤาษี เรียงรายอยู่มากมายที่ริมตลองหน้าวัด ชาวบ้านในอดีตที่เดินทางสัญจรผ่านไปมาจะยกมือไหว้ขอพรกับรูปปั้นยักษ์แม่ใหญ่เพื่อให้เดินทางปลอดภัย รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าที่ผ่านไปมาจะไหว้ขอให้ค้าขายร่ำรวย มีเงินมีทอง  แต่เรื่องที่ไม่มีใครคาดถึงก็เกิดขึ้น เมื่อกาลเวลาล่วงเลย สายน้ำได้เซาะตลิ่งด้านริมคลองหน้าวัดจนทำให้รูปปั้นทั้งหลาย ทั้งยักษ์ ฤาษี และรูปปั้นอื่น ๆ ทลายจมลงในน้ำและไม่มีใครกล้าที่จะงมขึ้นมา จนกระทั่งประมาณปลายปี พ.ศ. 2551 มีชาวบ้านคนหนึ่งได้ฝันว่ามียักษ์ตนหนึ่งบอกว่าตนได้จมอยู่ในน้ำมาหลายสิบปีนอนหนาวอยู่ในน้ำให้ช่วยนำขึ้นมา จึงเป็นที่มาของการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในระแวกวัดหานักประดาน้ำมาช่วยงมโดยใช้เรือเครนมายกก็ยกไม่ขึ้น จึงต้องทำพิธีบวงสรวงตั้งบายศรีทำพิธี เรือเครนจึงสามารถยกขึ้นมาได้ ซึ่งท่อนหินที่ยกขึ้นมาพบแต่ส่วนตัว (ไม่มีเศียร) ซึ่งเป็นยักษิณีนามว่าพระนางสุพรรณอัปสรที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลาหลายสิบปี สภาพที่เห็นคือในอ้อมแขนของพระนางสุพรรณอัปสรนั้นอุ้มบุตรชายของตนไว้ ส่วนหัวที่หายไปเคยมีคนนำมาไว้ที่ต้นไทรหน้าวัดแต่ก็มีนักสะสมของเก่าบูชาเอาไปให้สูญหายจนหากลับมาไม่ได้ ด้วยศรัทธาของชาวบ้านและข่าวแพร่สะพัดว่าได้มีการงมยักษิณีขึ้นมาได้ทำให้คนมากราบไหว้บนบานและช่วยกันบริจาคทรัพย์คนละเล็กละน้อยให้ช่างฝีมือปั้นศรีษะของพระนางสุพรรณอัปสรขึ้นแทนส่วนที่สูญหายไป …

ยักษ์แม่ใหญ่ Giantess วัดนางตะเคียน จ.สมุทรสงคราม Read More »